ฟินชายผ้าสีดา (Platycerium) เป็นเฟินประเภทอิงอาศัยส่วนใหญ่ในธรรมชาติเกิดตามต้นไม้สูง หรือบางครั้งอาจพบตามหน้าผา เฟินชนิดนี้ไม่ใช่พืชประเภทกาฝากอย่างที่หลายคนเข้าใจ ไม่มีการดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ เฟินชนิดนี้มีการป้องกันตัวเองท่าน่าทึ่งมีการออกใบกาบ (Shield front) เพื่อปกป้องเหง้าของตัวเองตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นถิ่นกำเนิดเช่น เช่นเฟินเขากวางตั้ง (Platycerium ridleyii) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทไทยที่มีฝนตกชุกตลอดปีมีใบกาบเป็นร่องเพื่อปกป้องเหง้าจากน้ำฝน มีใบชาย (fertile front) รองรับน้ำเข้าสู่เหง้าเพียงแต่น้อย หรือเฟินชายผ้าสีดาหูช้าง (Platycerium holtumii) มีใบกาบที่ตั้งขึ้นเหมือนกระจาดรองรับใบไม้รอย่อยสลายเพื่อกลายเป็นปุ๋ย เป็นต้น

ในโลกของเราตอนนี้มีเฟินในสกุลนี้รวมแล้ว 18 ชนิด สำหรับประเทศไทยมีถึง 4 ชนิดด้วยกัน ทั้งนี้ไม่รวมที่เป็นลูกผสมหรือกลายพันธุ์ที่มีอีกมากมายก่ายกอง สำหรับในที่นี้จะรวมเนื้อหาที่ถอดความบางส่วนจากหนังสือของ Roy vail ผิดบ้างถูกบ้างโปรดท้วงติงกันมา


Platycerium Holttumii

ตั้งตามชื่อของ Dr.R.E.Holttum เป็นผู้คนพบ ซึ่งเป็นชนิดที่แยกมาจาก P.grande และ P.suberbum ลักษณะรูปร่างใกล้เคียงกับ P.grande P.suberbum และ P.wande คนไทยเรียกว่าหูช้าง ใบ fertile fronds เป็นแผ่นกว้าง 2 แผ่น เล็ก และใหญ่ ซึ่งเป็นใบที่เกิดสปอร์ ก่อนที่จะเป็นใบห้อยย้อยลงมา ใบ shields fronds แผ่ออกลักษณะเหมือนกระจาด ในธรรมชาติพบขึ้นตามต้นไม้สูงที่รับแสงสว่างได้เต็มทีในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบ

พบกระจายพันธุ์ในไทย พบทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตก เวียดนาม มาเลเซีย ในระดับความสูง 0-700 เมตรจากระดับน้ำทะเล

 

 

แต่ระยะหลัง วงการเลี้ยงเฟินและกระเช้าสีดา มีการสังเกตและค้นพบว่า มีอีกสายพันธ์หนึ่ง ของกระเช้าสีดา-หูช้าง สายพันธ์นี้ เช่นกัน เนื่องจากลักษณะของใบชาย มีลักษณะแตกต่างกันจาก กระเช้าสีดา-หูช้าง (เดิมๆ) – สแตนดาร์ดฟอร์ม กลุ่มเพื่อนๆคนรักเฟินในวงการเฟิน จึงได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า พัดวี (Padwi คำสะกดพ้องเสียงไทย)

ความแตกต่างของ ฮอลตั้ม สแตนดาร์ด กับ ฮอลตั้ม พัดวี
(P. holttumii STD Form V.S. P. holttumii Padwi Form)
ตามลักษณะใบชาย
การแตกแฉกของใบชาย ที่โดดเด่น มีลักษณะเหมือนกับพัด (พัดของคนจีน เวลาที่เราคลี่กางออก) และการแตกของปลายใบชาย ที่โคนจะเป็นแฉก ลักษณะเป็นตัววี V คว่ำลง สังเกตุลักษณะตรงมุมโคน ของปลายแฉกแต่ละปลาย ซึ่ง ฮอลตั้ม ตัวปรกติ STD From มุมของการแตกแฉกที่ปลายใบจะโค้งมน เป็นลักษณะตัวซี C วางตามแนวนอน

ลักษณะของการเกิดสปอร์
เนื่องจากว่าลักษณะของใบชายที่แตกต่างไป ธรรมชาติการการสืบ (ดำรงสาย) พันธ์ จึงไม่สมารถออกได้ตรงมุมแหลมของโคนวี นั้นได้ จึงได้เคลื่อนจุดที่จะออกสปอร์ ออกไปตรงตำแหน่ง ที่โค้งมน นั่นคือบริเวณ ปลายใบแทน ทำให้เห็น สปอร์ขึ้นเป็นกระจุกน้อยๆ หลายๆกระจุก ซึ่งจุดนี้เอง จะแตกต่างจาก ฮอลตัม ตัวปรกติ อย่างเด่นชัด ที่ สปอร์ของ ฮอลตั้ม STD Form จะรวมอยู่เป็นปื้นๆ ที่จุดเดียว 1 หัวจะมีกาบใบชาย 2 ข้างๆละ 2 ปื้น แต่ พัดวี Padwi จะมี ปื้น สปอร์น้อยๆ แต่มากตำแหน่ง รวมๆ มากกว่า 4 ตำแหน่ง

 

 

 

*****ผู้ให้ข้อมูล Issa (อิสสรัฐ - หนุ่ม)

หมายเหตุ ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัด พบว่าในบางครั้งเฟินชายผ้าสีดาหูช้างนี้มื่อยังเล็ก หรือยังไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่ ก็จะมีลักษณะคล้ายพัดวีดังกล่าว แต่เมื่อมีอายุและมีความสมบูรณ์เต็มที่ก็จะเป็น Standard form


Platycerium wallichii

Common name : Indian staghorn

ตั้งตามชื่อของ Nathaniel wallich ผู้จัดการ Calcutta Botanic garden ในปี ค.ศ. 1985 เฟินชนิดนี้ในหลายๆ พื้นที่เรียกแตกต่างกันไป เช่น ห่อข้าวย่าบา, ห่อข้าวสีดา ผีเสื้อ(เรียกตามคนขายที่ตลาดจัตุจักร) ทางเหนือเรียก "ใบตองห่อข้าว"

ลักษณะใบ shields fronds แผ่เหมือนกระจาด ที่ปลายใบเป็นร่องไม่ลึกมาก ผิวใบเป็นคลื่น มีสีขนสีขาวปกคลุม ลักษณะใบ fertile fronds แผ่กว้างเหมือนใบพัด ลายของเส้นในเป็นสันนูน ส่วนที่เกิดสปอร์มีลักษณะเป็นแผ่นโค้ง ด้านข้างของแผ่นจะเป็นใบห้อยย้อยลงมาไม่ยาวนัก ในหนึ่งใบมีส่วนที่เกิดสปอร์ 2 ส่วน

เฟินชนิดนี้ใบพักตัวในฤดูแล้ง ใบ shields fronds แห้งเป็นสีน้ำตาล ส่วนใบ fertile fronds ยังมีสีเขียว แต่จะเหี่ยวเฉา งองุ้ม พอย่างเข้าฤดูฝนทุกอย่างจะคืนกลับสู่สภาพเดิม ในธรรมชาติพบเฟินชนิดนี้มีความกว้างถึง 1 เมตรกว่า

พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า ยูนาน ประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง

 

 

ข้อมูลคุณ Ja_star ศึกษาชายผ้าสีดาชนิดนี้แล้วมีความเห็นว่าเฟินชายผ้าสีดาชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด ซึ่งคุณ Ja_star ตั้งชื่อให้ว่า "ผ้าแพรสีดา" มาดูความแตกต่างจากการศึกษากันครับ


ผ้าแพรสีดาจะมีใบชายผ้าที่ยาวแยกเป็นแฉกน้อยเพียง 3 -4 ชั้นเท่านั้นจะเติบโตไปทางยาวมากกว่าที่จะแผ่กว้างเช่นแบบปีกผีเสื้อและเมื่อเทียบกันความกว้างของใบกาบกับความยาวของใบชายผ้าจะต่างกันมากโดยถ้าหากงามพอใบชายผ้าจะยาวกว่าใบกาบถึง 3
เท่าและลักษณะใบกาบจะแตกเป็นแฉกปลายใบน้อยแต่ที่ผู้ศึกษาปลูกมามันไม่แตกเลย จุดสังเกตอีกอย่างคือใบชายผ้าของผ้าแพรสีดาจะบางกว่าผีเสื้อมากและเป็นสีเขียวเข้มมีขนน้อย และในสปอร์น้อย(โดยส่วนใหญ่จะไม่ให้เลย)และได้มีการทดลองนำสปอร์ทั้งสองสายพันธุ์มาเพาะกลับพบว่าสปอร์ท ี่ได้จากผ้าแพรสีดาจะเป็นผ้าแพรสีดาทั้งหมดและสปอร์ของผีเสื้อจะเป็นผีเสื้อทั้งหมดโดยที่ผมได้นำมาเพาะและปลูกเลี้ยงโดยอากาศและความชื้นเท่ากันจึงแน่ใจได้ครับว่าไม่ได้เป็นเพราะอากาศแน่นอนและอีกอย่างนะครับ การเติบโตเมื่อเพาะในช่วงแรกปีกผีเสื้อจะโตไวกว่ามากแต่เมื่อระยะต่อมาผ้าแพรสีดาจะโตไวกว่ามากและเมื่อเทีย
บอายุเท่ากันปีกผีเสื้อจะมีใบกาบที่ใหญ่กว่ามากโดยผ้าแพรสีดามีใบกาบห้านิ้วแต่ปีกผีเสื้อจะใบกาบใหญ่ถึง 15 นิ้วเลยทีเดียวและใบชายผ้าของผีเสื้อยาวถึง 17 นิ้วผ้าแพรสีดาจะยาวได้ถึง 1 เมตรเลยทีเดียว(ข้อมูลจากสถิติเมื่อต้นอายุหกปี)และผมเคยไปศึกษาจากสถานที่ธรรมชาติหลายที่นะแต่ก็แทบไม่พบเลยคือผมพบได้ที่เดียวที่บริเวณใกล้กับอุทยานแห่งชาติเกาะร้อยในจังหวัดกำแพงเพชรมีแค่สองกลุ่มแต่จะมีกลุ่มละ 8 – 12 ต้นเลยทีเดียวส่วนที่อื่น ผู้ศึกษาก็ไม่เคยพบเห็นเหมือนกันครับ และผ้าแพรสีดาจะชอบอากาศชื้นมากกว่าปีกผีเสื้อและที่สำคัญผู้คนกำลังบุกรุกที่ดินบริเวณนั้นด้วยครับโดยผม ไปพบแต่ละต้นจะมีใบกาบประมาณ 1 ฟุตแต่ใบชายผ้ายาวถึง 2 เมตรกว้ากว้างเต็มที่ไม่ถึง 1 ฟุตครับและตำแหน่งของสปอร์ถึงแม้ใกล้เคียงกันแต่ผ้าแพรสีดาก็ให้สปอร์น้อยมากแต่ส่วนใหญ่จะไม่ให้เลย ข้อมูลทั้งหมดรับรองว่าจริง 100% ถ้าใครนึกภาพไม่ออกลองดูภาพเปรียบบเทียบไปก็ได้นะครับจะได้ไม่งง

ข้อมูลจากการศึกษาของคุณ Ja_star

 

 

 

 


Platycerium coronarium

Common name : Disk staghorn

ชาวบ้านเรียกกันว่า "สายผ้าม่าน" ตามตำราที่ท่าน ม.ร.ว.จารุพันธ์ ทองแถม ใช้ชื่อว่า "ชายผ้าสีดาปักษ์ใต้" ชื่อที่ชาวต่างชาติเรียก Disk staghorn หมายถึงลักษณะที่เฟินชนิดนี้เกิดต้นใหม่ต่อกันไปจนเกิดเป็นวงกลมรอบๆ ต้นไม้ที่เกาะอาศัยอยู่ ลักษณะใบ shields fronds ตั้งคล้ายมงกุฏ สูงได้ถึง 1 เมตร ใบ fertile fronds ห้อยย้อยลงมายาวได้ 2-3 เมตร อับปอร์เกิดจากใบที่ออกมาจากโคนใบเป็นรูปถ้วย ลักษณะใบของทั้ง 2 แบบ มีสีเขียวอ่อนเป็นมันเงา ในธรรมชาติเฟินชนิดนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกมดและแมลง พบบนต้นไม้สูงใบป่าดงดิบ ดงดิบชื้น หรือตามสวนในภาคตะวันออก และภาคใต้

พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ประเทศไทย พบได้ในภาคตะวันออก และภาคใต้

 

 

 

ข้อมูลจากคุณต้น Apodagis เรื่อง P. platylobum กับ P. coronarium

ทางมาเลเซีย ได้อธิบายไว้ว่า P. platylobum เป็น ชายผ้าสีดาชนิดใหม่ (new species) พบที่เกาะลังกาวี มีความแตกต่างกับ P. coronarium คือ
1) มีขนาดเล็กกว่า โดยมีใบชายสั้นกว่า P. coronarium
2) อับสปอร์เป็นรูปหัวใจ หัวกลับ ด้านปลายแหลมจะเป็นด้านขั้ว รูปร่างของอับสปอร์เป็นตัวสำคัญว่า P.platylobum เป็น new species

เปรียบเทียบอับสปอร์ของทั้งสองชนิด

 


Platycerium ridleyi

ตั้งตามชื่อของ J.ridley ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเฟินของ Malay peninsula ใบ fertile frond ตั้งตรงเหมือนเขากวาง อับสปอร์ที่เป็นรูปถ้วยเหมือนหูของกวางเช่นเดียวกัน ลักษณะใบเป็นร่องเพื่อรองรับน้ำไหลลงสู่เหง้า ถ้าน้ำมากก็จะล้นไหลออกด้านข้างเป็นการควบคลุมไม่ให้น้ำไหลลงสูเหง้ามากเกินไป ใบ shields frond เส้นใบนูนขึ้น ทำให้ใบเหมือนเป็นร่องลึก กาบใบไม่แผ่เป็นมงกุฏ ซึ่งจะแนบกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่เพื่อป้องกันน้ำ เนื่องจากอยู่ในเขตที่ฝนตกชุก ใบ shields frond ที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ จะเกิดช่องว่างเพื่อไม่ให้เกิดการชุ่มน้ำ เป็นวิวัฒนาการของพืชที่ต้องป้องกันตัวเองจากสภาพภูมิศาสตร์ถิ่นกำเนิดที่มีฝนตกชุก

พบทางภาตใต้ของไทย เกาะสุมาตรา มาเลเซีย และบางส่วนของเกาะบอร์เนียว

 


Platycerium alcicorne

P.alcicorne ที่เราเห็นทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดที่มาจากแอฟาริกา และชนิดที่มาจากเกาะมาดากัสการ์

            - สายพันธุ์แอฟาริกา ใบ fertile fronds เป็นมันเงา มีสีเขียวเหลือง ไม่มีขนปกคลุม ใบ shields fronds มีรอยพับจากกลางใบ ทนแล้งได้ค่อนข้างดี

            - สายพันธุ์จากเกาะมาดากัสการ์ ถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบชื้นของเกาะมาดากัสการ์ ใบ fertile fronds สีเขียว มีขนสีขาวปกคลุม ลักษณะใบ shields fronds ที่ถัดจากเหง้าขึ้นไปด้านบนเป็นรอยพับ ร่องลึก เฟินชนิดนี้ยีแบ่งได้จากความกว้างและแคบของใบ fertile fronds อีกด้วย

P.alcicorne มาดากัสการ์

 

P.alcicorne มาดากัสการ์ ใบแคบ สั้น

 


Platycerium andinum

Common name : American staghorn

ลักษณะของใบ Fertile frond ยาวเรียว แตกแฉก 2 ครั้ง ยาวได้ถึง 2 เมตร มีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น เส้นใบเป็นทางบาวเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน อับสปอร์เกิดเป็นแผ่นเลยจากปลายใบขึ้นไป เหง้ามีขนสีน้ำตาลปกคลุม ลักษระใบ shields frond ที่ปลายใบไม่ความเว้ามานัก และไม่เกิดร่องลึกเหมือนกับชนิดอื่นๆ

เฟินชนิดนี้พบบริเวณเทือกเขาแอนดิส ประเทศเปรู โลลิเวีย ที่ระความสูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตรขึ้นไป

 

 

 

 

 

ขนสีขาวเหมือนเกล็ดน้ำแข็ง

 

 

 

 

 


Platycerium bifurcutum

Common name : Common staghorn

คำว่าใบ Bifurcatum มาจากคำว่า Bifurcate แปลว่า แตกกิ่งก้านออกเป็นสอง เป็นที่มาของเฟินชนิดนี้ที่เกิดมีใบ fertile frond ที่แตกสาขาออกไป โดยทั่วไปแล้วใบจะแคบ และตั้งขึ้น และที่ปลายใบจะหักงอลงมา ใบนี้อยู่ได้นานถึง 2 ปี ในขณะที่ใบ shields frond แห้งและเกิดใหม่ไปหลายครั้งแล้ว

ชนิดที่ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่คือ P.bifurcatum c.v. Netherlands เฟินชนิดนี้รากเกิดเป็นตา และเป็นต้นได้ง่ายมาก

เฟินชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดแถบใกล้เส้นศูนย์สูตร ประเทศออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา 

 

 


Platycerium ellisii

P.ellisii มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับ P.alcicorne จากมาดากัสการ์มาก ต่างกันตรงที่ใบ fertile frond ของ P.ellisii ใบเป็นมัน สีเขียวเหลือง กว้างและตั้ง แยกเป็น 2 แฉก สปอร์เกิดที่ปลายใบ ใบชนิดนี้เกิดในช่วงหลังฤดูร้อน และฤดูฝน ใบ shields fronds ช่องว่างแต่ละใบที่เกิดทับซ้อนกันจะเป็นช่องว่าง เข้าใจว่าจะทำให้เกิดการระบายน้ำที่ดี แต่สามารถเก็บความชื้นได้ดี เนื่องจากพบในเขตที่เปียกชื้น ใบชนิดนี้จะเกิดในช่วงฤดูหน้า และใกล้เข้าฤดูร้อน ลักษณะเหง้ามีสีน้ำตาลปกคลุม ซึ่งลักษณะเช่นนี้แตกต่างจาก P.alcicorne มาดากัสการ์

ถิ่นกำเนิดพบที่เกาะมาดากัสการ์ เป็นเฟินที่อยู่ในเขตที่มีธรรมชาติผสมกันในเขตอบอุ่นและเปียกชื้น บางครั้งพบได้ในป่าโกงกาง

 

 


Platycerium elephantotis

Common name : Angola staghorn

เฟินชนิดนี้บางครั้งเรียกว่า P.angotense บางครั้งเรียกว่า lettuce staghorn หรือหูช้าง ลักษIะเด่นของเฟินชนิดนี้ ใบ shields frond สีเขียวสว่าง ในธรรมชาติจะเกิดก่อนฤดูหนาว ใบ fertile frond กว้าง ยาว ยื่นออกมาแล้วห้อยลงมา อับสปอร์เกิดปลายใบ ลักษณะในทั้งสองแบบเป็นคลื่น มีรอยนูนตามเส้นใบ ทำให้ดูเหมือนใบเป็นร่องลึก เหง้าสีขนสีขาวปกคลุม เฟินชนิดนี้ชอบอากาศร้อน และแสงมาก

พบตามในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ตามแนวชายฝั่งของแอฟาริกากลาง ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,500 เมตร เช่นประเทศอูกันดา พบในพื้นที่แห้งแล้งกว่า P.stemaria

 

 

 

 

 


Platycerium grande

เดิมทีเดียว P.grande และ P.suberbum จัดรวมอยู่ในพวกเดียวกัน แต่ในปี ค.ศ.1970 Jonheere และ Hennipman ได้แยก ออกมาเป็นอีก 1 speciese ใช้ชื่อว่า Grande

ใบ fertile frond ในขณะที่ยังเล็กเกิดอับสปอร์ 1 จุด แต่ถ้าโตเต็มที่แล้วจะเกิด 2 จุด ซึ่งต่างกับ P.suberbum จะเกิดอับสปอร์แผ่นใหญ่แผ่นเดียว ใบไม่เรียบสม่ำเสมอเหมือน P.holttumii ใบ shields frond ตั้งตรงด้านบนส่วนเว้าค่อนข้างลึก ในส่วนที่เป็นใบค่อนข้างแคบ

พบที่เกาะมินดาเนา ของประเทศฟิลิปปินส์ ขึ้นตามต้นมะพร้าว ต้นไม้ ตามที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 0-500 เมตร

 

 

 

 

 

 


Platycerium hillii

Common name : Green staghorn

เป็น spieces ที่ใกล้เคียงกับ P.bifurcatum ลักษณะเด่นของ P.hillii คือใบ fertile frond กว้าง ตั้งชูขึ้น สีเขียวเข็ม ใบ shields frond ไม่เป็นมงกุฏ หรือกระจาก เหมือนรังนก แต่จะปิดเรียบสม่ำเสมอ

พบในเขตพื้นที่ต่ำ ชุ่มชื้น ในประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี

 

 

 

 

 

 


Platycerium madagascariense

เป็นเฟินที่หายากพบที่มาดากัสการ์เท่านั้น ใบ shiels frond ไม่เผยเป็นมงกุฏแต่จะปิกแนบชิดกับต้นไม้ที่ขึ้นในธรรมชาติ เส้นใบนูนขึ้นทำให้ใบส่วนอื่นเป็นร่องลึกเหมือน P.ridleyi มีประโยชน์ที่ช่วยระบายน้ำไม่ให้ขังตามเหง้าหรือใบ เนื่องจากอยู่ในเขตที่มีฝนตกชุก 6,000 มล.ลิตรต่อปี ใบที่โตเต็มที่มีสีเขียวเข็ม ใบ shields frond แต่ละชั้นที่ซ้อนกัน เป็นช่องว่าง คงเพื่อไม่ให้เกิดน้ำขัง แต่ยังคงรักษาความชื้นเอาไว้ได้ ใบ fertile frond อวบน้ำ ตั้งตรง แยกเป็น 2 แฉก อับสปอร์เกิดที่ปลายใบ เป็นเฟินที่ปลูกเลี้ยงยากต้องการความชื้นถึง 60% หรือมากกว่านั้น

พบแห่งเดียวในโลกที่เกาะมาดากัสการ์ตอนกลาง ในป่าดงดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 300-700 เมตร

 

 

 


Platycerium quadridichotomum

ความพิเศษของเฟินชนิดนี้คือใบ fertile frond แตกเป็น 4 แฉก ใบไม่กว้างนัก ตั้งขึ้นเล็กน้อยและโค้งลงมา และปลายแฉกงอนขึ้น มีลอนคลื่นตามขวางของใบ อับสปอร์เกิดค่อนจากกลางใบตรงเกือบสุดปลายใบ

พบแห่งเดียวในโลกที่เกาะมาดากัสการ์ในเขตค่อนข้างแห้งแล้งทางตะวันออก และกระจายพันธุ์ไปในเขตที่มีความชื้นด้วย แต่ส่วนใหญ่พบในเขตที่มีความแห้งแล้งยาวนานถึง 6 เดือน เฟินชนิดนี้ถ้าอยู่ในที่ร่มครึ้มจะดูเหมือน P.stemaria มาก

 

 

 

 

 


Platycerium stemaria

Common name : Triangle staghorn

ใบ shields frond กว้างเป็นคลื่นในช่วงบนแต่ไม่มีร่องลึกเป็นมงกุฎ เส้นใบเป็นสันนูน ในบางครั้งใบด้านบนแผ่ค่อนข้างกว้างเพื่อรองรับใบไม้ ซึ่งจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยต่อไป ใบ fertile frond สีเขียวเข้ม แตกสาขาเป็น 2 ทาง 2 ครั้ง ห้อยย้อยลงมา ปลายใบเป็นริ้ว มีคลื่นตามขวางของใบ มีขนสีขาวปกคลุมบางๆ อับสปอร์เป็นรูปเส้นกว้าง ตามความยาวของใบ เกิดถัดจากกลางใบลงมาจนถึงปลายใบ

พบในแอฟาริกาตะวันตก ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 0-1,000 เมตร

 

 

 

 


Platycerium suberbum

Common name : Giant staghorn

ใบ shields frond แผ่กว้างเป็นมงกุฏ หรือพูดได้อีกอย่างอย่างเหมือนกระจาด ส่วนเว้าด้านบนที่เป็นร่องเว้าลึกได้ถึง 1.3 เมตร และในส่วนที่เป็นใบด้านบนแตกเป็นหลายแฉกค่อนข้างกว้าง ในธรรมชาติส่วนที่แนบติดกับต้นไม้มีลักษณะเป็นคลื่น ห่อเป็นจีบไปทางด้านหลัง ใบ fertile frond ส่วนที่เป็นอับสปอร์เป็นแผ่แข็งแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม เกิดสปอร์แค่จุดเดียวแตกต่างจาก P.grande ซึ่งเกิดสปอร์ 2 จุด ที่มุมของอับสปอร์ใบแยกออกอีกหลายสาขา ห้อยย้อยลงมา เหง้ามีขนสีเขียวเป็นฝอยปกคลุม

พบในควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 0 - 750 เมตร

 

 

 

 


Platycerium veitchii

ชื่อนี้น่าจะตั้งตามผู้คนพบคือ James veitch แห่ง Veitch nursery เฟินชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียง P.bifurcatum แต่แตกต่างกันตรงที่ P.veithii มีขนสีขาวปกคลุม ด้านบนของใบ shields frond เป็นริ้วแคบ ตั้งตรง ใบ fertile frond ตั้งตรง เห็นเส้นใบสีเขียวได้ชัดเจน ทั้งนี้สภาพการตั้งตรงของใบ อาจผิดเพี้ยนไปบ้างขึ้นอยู่กับสภาพการปลูกเลี้ยง เฟินชนิดนี้ชอบแสงมาก

พบตามภูเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทางตะวันออกของออสเตรเลีย ที่มีความแห้งแล้งนานหลายเดือน

 

 

 

 


 

Platycerium wandae

Common name : Queen staghorn

เป็นชนิดที่ใหญ่มากกว่า P.suberbum ถึง 3 เท่า ใบ shields frond เปรียบเทียบว่าเหมือนตะกร้า ตั้งตรง ขอบใบที่อยู่ติดกับเหง้าจะเป็นฝอยสีเขียวปกคลุม ร่องด้านบนของใบเว้าลึกเหมือน P.suberbum ใบ fertile frond คล้ายกับ P.holttumii ส่วนที่เกิดสปอร์ในหนึ่งใบ 2 ส่วน แต่ส่วนที่เกิดอับสปอร์แผ่นเล็กจะเงยขึ้นไม่มีใบห้อยต่อลง ใบอีกส่วนมีใบเป็นริ้วห้อยย้อยลงมา

ลักษณะโดยรวมทั่วไปคล้ายกับ P.suberbum, P.holtiumii และ P.grande แตกต่างกันตรงที่ขนาด ซึ่งเปรียบเทียบในขนาดอายุที่เข้ากัน P.wandae จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าทุกชนิด

 

 

 

 


Platycerium willinckii

Common name : Java staghorn

มีลักษณะใกล้เคียงกับ P.bifurcatum ต่างกันตรงที่ใบ shields frond มีความยาวกว่า ส่วนหยักที่ปลายใบเป็นร่องลึก ใบ fertile frond ห้อยย้อยยาวมาก ใบหนา สีของใบเขียวเหลือบขาว ในบางครั้งใบ fertile frond อาจเกิดผิดเพี้ยนไปได้ เช่น ใบกว้าง ใบโค้ง ใบสั้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะกลายพันธุ์ไปลักษณะไหนก็ยังมีความยาวอยู่เหมือนเดิม เฟินชนิดนี้ในบางท่านอาจถือได้ว่าเป็น P.bifercatum spp.

พบที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

 

 

 

 


Platycerium african oddity

เฟินชนิดนี้ มีรายงานงานเป็นเฟินชายผ้าสีดาชนิดใหม่ของโลก มีถิ่นกำเนิดเกาะมาดากัสการ์ ลักษณะใบกาบตั้ง ไม่หยักลึก ใบชายสีเขียวอ่อนเป็นมัน ใบชายแตกแฉกได้ 2 ครั้ง ความยาวประมาณ 1 ฟุต หรือมากว่านั้น อับสปอร์เกิดจากช่วงค่อนข้างปลายใบ แต่ไม่เกิดจนสุดปลาย