Dicksonia antarctica: ความงาม400 ปี

เรียบเรียงโดย ดร.นิวัตร ตันตยานุสรณ์ Ph.D

 

            ผมมีความสนใจในการเลี้ยง Tree fern เป็นอย่างมากมานานแล้ว แต่ยังไม่เคยมี โอกาสที่จะได้สัมผัส Tree fern ที่มีลำต้นใหญ่และสูงเช่น Dicksonia antarctica เมื่อมีโอกาสได้ชื่นชมและเป็นเจ้าของ จึงคิดว่า น่าจะค้นคว้าเนื้อหาต่างๆ เรียบเรียงสาระที่มาจากแหล่งต่างๆให้เป็นระบบเพื่อให้อ่านง่ายและทำให้การเลี้ยงดูเฟินมีหลักการทุกด้าน ทั้งนี้ เพื่อสามารถจะนำไปอ้างอิงได้ ผมจึงได้ค้นคว้าจากหนังสือ และ Internet  เนื้อหาในบทความนี้ เป็นการศึกษาประวัติที่มา คุณสมบัติ ลักษณะทั่วไป การส่งออก รวมไปถึงแหล่งที่จำหน่ายและราคาที่แตกต่างของ Dicksonia antarctica ภาพที่นำมาประกอบด้วยได้มาจากหลายแหล่ง แสดงให้เห็นว่า Tree fern ชนิดนี้เป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

 

 

 

 

 

                                ภาพที่1 ลักษณะของใบ Manfern ถ่ายเห็นการแผ่ใบเต็มช่วง แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์เต็มที่

 

Family Dicksoniaceae
วงศ์ลูกไก่ทอง

ข้อมูลจาก www.fernsiam.com  ในหน้า Taxonomy ได้อธิบายไว้ว่า “เฟินวงศ์นี้เป็นเฟินดิน ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากมีลำต้นตั้งตรง ดูคล้ายไม้ยืนต้น ไม่แตกกิ่ง ลำต้นอวบอ้วนสะสมน้ำและอาหาร บางชนิดลำต้นเลื้อยทอดนอนไปกับผิวดิน ชูยอดเหง้าและใบขึ้นมา ยอดเหง้าปกคลุมด้วยขนหรือเกล็ด สีแดง สีเหลือง หรือน้ำตาลเข้ม มีจำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องยอดอ่อน ใบมี

ทั้งชนิดก้านสั้นและก้านยาว ก้านใบบริเวณโคน ปกคลุมด้วยขนเส้นยาว ท่อลำเลียงภายใน จัดเรียงเป็นรูปตัว U มี 2 กลุ่มอยู่ข้างแกนกลาง ตัวใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2-4 ชั้น ใบย่อยสุดมีขอบหยักลึก บางชนิดใบสปอร์ ผอมเรียวและแคบ กลุ่มสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อย อับสปอร์รูปถ้วย มีเยื่ออินดูเซียปิดหุ้มรัดรอบภายนอกและมีเยื่ออินดูเซียภายในปิดอีกชั้น เมื่อสปอร์แก่ เยื่อภายในจะพลิกเปิดออก และเยื่อภายนอกเปิดออกตามขอบ เพื่อปล่อยสปอร์แก่ออกไป วงศ์นี้แบ่งเป็นสกุล ได้แก่ Calochlaena, Cibotium, Culcita, Cystodium, Dicksonia และ Thysopteris รวม 45 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนและส่วนมากอยู่ทางซีกโลกใต้ของโลก บางแห่ง เช่น Holttum 1963, not 1981 จัดให้อยู่รวมในวงศ์ Cyatheaceae (วงศ์มหาสะดำ) นอกจากนี้ ยังมีบางแห่งย้ายสกุล Culcita ไปรวมกับในวงศ์ Thyrsopteridaceae  สำหรับในไทย มีรายงานพบเพียงชนิด คือ เฟินลูกไก่ทอง Cibotium barometz (Linn.) J. Smith “

สกุล Dicksonia มีประวัติที่หลากหลายในด้านการจำแนกชนิด ซึ่งแม้แต่ผู้เขียนหนังสือทั้งหลายยังสับสนด้วยจำนวนตระกูลที่มีมากมาย เช่น Cibotium, Culcita หรือแม้กระทั่ง Dennstaedtia จาก Taxonomy ของ fernsiam.com ระบุว่า สกุล Dicksonia (L'Hritier) จัดเป็น Tree Fern หรือ กูดต้น อีกชนิดหนึ่ง สกุลนี้ พบ 30 ชนิด บางแห่งรวมเอา Dennstaedtia punctilobula นำมารวมอยู่ในสกุลนี้ แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ (จำนวนโครโมโซม พื้นฐานของ Dicksonia มี ท=65)

Dicksonia Antarctica หรือ Tasmanian dicksonia ลำต้นกึ่งแข็ง-กึ่งนุ่ม:

ชื่อ แหล่งกำเนิด คุณลักษณะ คุณสมบัติพิเศษ

ชื่อ

Dicksonia มาจากนามของ James Dickson (1738-1822) เป็นนักฟิสิคชาวสก็อตแลนด์ (Hoshizaki & Moran 2002 p.282). Dicksonia antarctica เป็นต้น tree fern ที่มีขนยาวแนบติดกันประกอบด้วยเซลมากมายจากด้านล่างจนถึงปลายลำต้น ใบยาวระหว่าง 1-3 เมตร  สำหรับDicksoniaceae มีการบันทึกประวัติจากการพิสูจน์ฟอสซิลที่มีอายุตั้งแต่สมัยจูราซิคยุตต้น Dicksonia มีประมาณ 20-25 species เป็นกลุ่มพืชโบราณทีมีการกระจายตัวจาก St.Helena ใน Atlantic ถึง America แถบหมู่เกาะ Pacific เช่น Australia, New Zealand เป็นต้น (Large & Braggins 2004 p.56) Dicksonia ส่วนใหญ่จะขึ้นในพื้นที่ป่าชุ่มชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าที่ปกคลุมด้วยหมอกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก (Hoshizaki &Moran 2002 p.282)

 

 

 

 

 

 

             ภาพที่2 ถิ่นที่อยู่อาศัยของ Manfern ที่เกาะกลุ่มอยู่รวมกันอย่างแน่นหนาตามธรรมชาติ โดยมีต้นไม้ใหญ่น้อยสอดแทรกอยู่ทั่วไป

 

ภาพที่3 Manfern ขนาดใหญ่บนเกาะ Tasmania ตามสภาพธรรมชาติที่อยู่อาศัย

 

 

ภาพที่ 4-5 ต้น Dicksonia antarctica ที่อาศัยอยู่ในป่า

 

 

 

 

 

 

แหล่งกำเนิด

D. Antarctica มีแหล่งกำเนิดที่กว้างขวางจากทิศตัวนออกเฉียงใต้ของรัฐ Queensland ไปถึง New South wale, Victoria and Tasmania. ในเกาะ Tasmania รู้จักกันในนาม Man Ferns  species นี้มีเฉพาะเจาะจงในออสเตรเลียเท่านั้น ในป่าทึบ species นี้ชอบอาศัยในพื้นที่ชื้น ปริมาณน้ำมากตามแนวลำธารและบนที่สูงที่ปกคลุมด้วยป่าหมอก เฟินทั้งหลายเจริญเติบโตได้ดีในที่มีฝนตกมากกว่า 1000 มม.ต่อปี แต่ในที่มีฝนตกน้อยกว่านั้นพื้นที่ๆเจริญเติบโตดีคือทางน้ำไหลหรือร่องงน้ำที่ชื้น ต้นเฟินทนต่อไฟและจะแตกใบใหม่หลังการย้ายที่ปลูกใหม่ สำหรับการปลูกจำนวนมากและสร้างขึ้นใหม่ เฟินชนิดนี้ควรจะปลูกในดินธรรมชาติปกคลุมไว้ด้วยหญ้าสม่ำเสมอและให้น้ำตลอด เฟินชนิดนี้ต้องการน้ำฝนขั้นต่ำ 500 มิลลิเมตร (20นิ้ว) ต่อปี ในท้องถิ่นที่มีอากาศแห้ง การทำน้ำหยดหรือระบบฉีดน้ำฝอยจากด้านบนคือวิธีการที่ดีที่สุดในการให้น้ำ

D. Antarctica เจริญเติบโตงอกงามในพื้นที่มีการกรองแสง มีการระบายน้ำที่สะดวก อย่างไร

ก็ตาม species นี้สามารถยืนอยู่ได้ในพื้นที่แห้งแล้งและมีชีวิตรอดได้ในสภาพที่แห้งแล้งด้วย

D. Antarctica ปลูกง่าย สิ่งสำคัญที่สุดคือขอให้มีความชื้นและได้รับสารอาหาร มันเป็น species ที่มีคุณค่าในสวนอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถเป็นผู้คุ้มกันเฟินอื่นๆ กล้วยไม้ และยังสามารถเป็นร่มเงาให้ไม้อีกหลายชนิด ผลประโยชน์อีกประการคือสามารถปลูกได้ทั้งในและนอกอาคาร

 

แหล่งจำหน่ายเฟินส่วนมากจะมี Dicksonia จำหน่ายเป็นจำนวนมาก วิธีการตัดเฟินจากป่าคือ เขาจะตัดลำต้นเสมอกับพื้นดินและตัดใบออก ลำต้นจะปลูกลึกลงไปในดินประมาณ 15 เซนติเมตร และให้มีความชื้นเสมอ รากใหม่ก็จะเกิดที่ฐานล่าง ต้นเฟินจำเป็นต้องค้ำไว้ประมาณ 12 เดือน Tasmania มีตัวอย่างต้นที่ใหญ่อ้วนยอดเยี่ยมมาก บางครั้งต้นเล็กแต่สามารถเติบโตจนเต็มลำต้นใหญ่อ้วน ในรัฐ New South Well ต้นเฟินที่จะทำการตัดได้ ต้องได้รับอนุญาตจากอุทยานแห่งชาติและกองบริการสัตว์ป่าเท่านั้น ใบอนุญาตทั้งหมดจะต้องติดแผ่นป้ายแสดงที่มาและหมายเลข การซื้อขายเฟินชนิดนี้ในประเทศออสเตรเลีย มีการเน้นว่าอย่าได้ซื้อเฟินที่ไม่มีป้ายแสดงที่ติดไว้กับลำต้น เพราะเป็นเฟินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย Dicksonia อาจจะปลูกได้โดยการหว่านสปอร์ แต่ นี่คือกระบวนการที่ยาวนานที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก

ภาพที่ 6 Manfern ที่ตัดมาจากป่าสัมปทาน จัดเรียงวางไว้บนพื้น โดยไม่ได้ฝังลงดินแต่อย่างใด เพื่อสะดวกต่อการขนย้ายเมื่อลูกค้าสั่งซื้อ

คุณลักษณะ (Characteristic) 

Dicksonia antarctica มีลำต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบหยาบและแข็ง อากาศเย็นจัดจะทำลายและฆ่าใบ แต่ลำต้นไม่เสียหาย จากรายงานของ Nursery ใน California กล่าวว่า ปลายใบจะไหม้เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า -7 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นใบจะแห้งตายหมดเมื่ออุณหภูมิยังคงอยู่ในระดับเดิมติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม สำหรับลำต้นแล้วจะไม่ตายและจะผลิตใบใหม่ได้ในเวลาอันรวดเร็วสำหรับลำต้นที่วางอยู่เฉยๆภายในตู้ขนส่งจะสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิ-5 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานถึง 2 เดือน นักจัดสวนชาวอังกฤษรายงานว่า ต้นไม้ไม่สามารถอยู่รอดได้ หากอากาศหนาวจัดจนน้ำค้างแข็งติดต่อกัน 20-40 วันในหนึ่งฤดูกาล

ภาพที่ 7 Dicksonia Antarctica เมื่อปลูกภายนอกและอยู่ท่ามกลางอากาศหนาวที่ปกคลุมด้วยหิมะ

 

 

Dicksonia เป็น tree fern ขนาดใหญ่ด้วยลำต้นสูงประมาณ 6 เมตร ลำต้นบางชนิดเป็นทรงสูงคล้ายกับ Cyathea ซึ่งอาจมีความสูงถึง 10 เมตร หรือมากกว่า รูปทรงบางต้นเพรียวสูง แต่ หลายๆ species อาจจะมีเส้นผ่าศูนย์ที่ใหญ่ถึง 1 เมตร ซึ่งปกคลุมด้วยรากหนารอบลำต้น Dicksonia ปลูกได้ดีภายใต้แสงแดดรำไรปานกลาง อย่างไรก็ตาม หากไม่มีแสงแดดจัดกระทบโดยตรง แสงแดดจัดที่มีความชื้นสูงในสวนหรือการปลูกในกระถางก็สามารถเลี้ยงได้ สำหรับวงการค้าtree fern speciesนี้ปลูกเลี้ยงง่าย ซึ่งแตกต่างจากDicksonia ทั่วไป ต้น tree fern นี้จะเติบโตดีที่สุดในพื้นที่ที่เย็น มีความชื้นทั้งปี อากาศไม่แห้ง มีลมเย็นโกรกผ่าน

ภาพที่ 8 กลุ่ม Manfern ในป่าบนเกาะ Tasmania

 

 

ถิ่นที่อยู่อาศัย (Habitat)

ถิ่นที่อยู่อาศัยของเฟินชนิดนี้คือ ที่ชื้น เปียก แฉะ มีการปกคลุมจากต้นไม้อื่นในป่าและร่องน้ำที่ชื้น และบางโอกาสอาจจะปรากฏบนที่สูงในป่าหมอก Dicksonia antarctica คือ tree fern ที่ถูกปล่อยละทิ้งมากที่สุดในTasmania เฟินชนิดนี้สามารถเติบโตได้ในที่ที่เป็นกรด หรือที่ที่อยู่ระหว่างกรดและด่าง และดินที่เป็นด่าง

 

 

 

                                                                                                                                         ภาพที่ 9 Manfern ที่ขึ้นอยู่ตามร่องน้ำชื้น

การเพาะปลูก (Cultivation)

เนื่องจากมีความเหมาะสมในการจัดสวน และจัดภูมิทัศน์ เฟินชนิดนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเฟินประดับ มันสามารถคงอยู่ได้ในอุณหภูมิ -5 องศาเซลเซียสในพื้นที่นอกอาคารในที่ไม่หนาวจัดมากนัก ในสหราชอาณาจักรอังกฤษสถานที่ซึ่งเฟินสามารถเติบโตได้เองในสวนของชาว Cornish ใบเก่าที่มีอายุมากหักตัวพับลงมาหุ้มลำต้นเป็นการป้องกันอากาศเย็นและช่วยรักษาความชื้น จึงเป็นข้อแนะนำให้เก็บไว้ระหว่างอากาศหนาวจัด

 

การขยายพันธ์ (Propagation)

สปอร์สามารถเพาะได้ทุกโอกาสในโรงเรือนที่อากาศอบอุ่น โดยการเพาะในกล่องพลาสติคเพื่อเก็บความชื้น วางไว้ในตำแหน่งที่ถูกแสงอ่อน เพาะตัวขึ้นในระหว่าง 1- 3เดือน ที่ระดับ 20 องศา ย้ายสปอร์ที่ใหญ่เพียงพอและปลูกในกระถางอีก 2 ปีลำต้นจะแข็งแรง สปอร์สามารถรักษาไว้ได้ 10 ปี (http://www.letsgogardening.co.uk/Information/EG/plants/Dicksonia.htm) สำหรับในป่าแล้ว เฟินชนิดนี้ทนต่อไฟป่า มันแตกใบใหม่ได้ในช่วงต่อมา อัตราส่วนการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 3.5- 5 เซ็นติเมตรต่อปี ดังนั้น หากต้นเฟินมีความสูงประมาณ 3.00 เมตร จะต้องใช้เวลาถึง 100 ปี จึงจะได้ความสูงขนาดนี้ เฟินชนิดนี้ผลิตสปอร์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 23 ปี มันเติบโตได้ดีในดินแต่ดีที่สุดควรจะเป็นพื้นที่มีดินที่สมบูรณ์

การเก็บเกี่ยวเฟินจากป่าในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย

            การเก็บเกี่ยวหรือตัดต้น Tree fern เพื่อการค้าในทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย จากจำนวนที่มี 5 ชนิดที่ปลูกและเติบโตดี มีเพียง 2 species เท่านั้นที่มีการเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นการค้าอย่างต่อเนื่อง คือ Dicksonia antarctica คนในท้องถิ่นเรียกว่า the Soft Tree fern หรือ Manfern อีกชนิดคือ Todea barbara, หรือ the Austral King fern จากเฟินทั้งสองชนิดนี้ มีเพียง Manfern เท่านั้นที่สามารถขยายการเพาะปลูกได้ดีที่สุด เป็นที่นิยมนำไปเป็นไม้ประดับของร้านค้าต้นไม้ (Nursery) ในฐานะที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไปในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียนั้น เฟินชนิดนี้พบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่ระดับความสูง 1000 เมตร มันครอบครองที่กว้างขวาง ปกคลุมพื้นที่ให้ร่มเย็นด้วยการแผ่กิ่งก้านสาขาในถิ่นที่อยู่ของมันด้วยลำต้นที่แน่นไปด้วยเส้นใยหนา ปกคลุมส่วนบนด้วยใบที่มีสีเขียวเข้มทำให้เกิดความประทับใจในภาพที่ได้เห็น

 

 

 

 ภาพที่ 10 Manfern กับบุรุษผู้รับสัมปทานบนเกาะTasmania

                                                                             

                                                                             ไม่เป็นการแปลกเลยที่บนเกาะ Tasmania การค้า Manfern ที่ยังมีอยู่ จะมีความเจริญรุ่งเรื่องมากกว่าเมื่อเทียบกับกับร้านค้าต้นไม้ในแผ่นดินใหญ่ (คนในTasmania จะเรียกออสเตรเลียบนแผ่นดินใหญ่ว่า Mainland Australia) พิจารณาได้จากพัฒนาการของร้านค้าต้นไม้ในท้องถิ่นที่ปรับตัวเองขึ้นจนเป็นการค้าที่ส่งออกไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ในปี 1980 ได้มีการห้ามเก็บเกี่ยวเฟินไม่ว่าในพื้นที่ของรัฐหรือเอกชน ทั้งนี้เพราะความน่าเป็นห่วง (Forestry Commission Tasmania 1989) ด้วยเหตุที่ Dicksonia antarctica เป็นเฟินที่มีอัตรการเติบโตเพียง 30 เซ็นตเมตรต่อ 10 ปี และสามารถผลิตสปอร์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 23 ปี ทำให้การเก็บเกี่ยวที่มากเกินไปมีผลกระทบต่อบทบาทของระบบนิเวศในฐานะเป็นรากฐานแห่งการเติบโตของเฟินอื่นๆที่มีความสำคัญในการรักษาความหลากหลายในป่านั่นเอง

 ภาพที่ 11 แหล่งสัมปทานในป่า บนเกาะ Tasmania ที่เจาะจงให้ตัด Mnafern ได้ตามกฎหมายและที่เจ้าหน้าที่อนุญาตเท่านั้น

การบริหารจัดการ Manfern บนเกาะ Tasmania

จากแผนการบริหารของกรมป่าไม้ของTasmania ที่ได้บรรจุไว้ และจากระบบการให้ใบอนุญาตในการปฎิบัติของรัฐอื่นๆ โควตา Manfern จำนวน 500,000 ต้นต่อปีได้ถูกเก็บเกี่ยวจัดการการจัดการในTasmania อาทิเช่น ห้ามการเก็บเกี่ยวจากพื้นที่ๆมีเฟินอาศัยน้อยกว่า 100 ต้น ต่อเฮคแตร์ (2.5 ไร่เท่ากับ 1 เฮคแตร์ ) ห้ามเก็บเกี่ยวหรือตัดจากริมลำน้ำ และการตัดเฟินจะต้องปฎิบัติการภายใต้พื้นฐานของการตัดแบบกระจายตัว (thinning operation) ซึ่งลำต้นจะต้องถูกนำออกไปทั้งหมด (Neyland, 1988) รายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้คือ จะต้องไม่มี manfern ถูกตัดยกเว้นมีขนาดที่เท่ากันยังคงเหลืออยู่ในระยะ 20 เมตร ยกเว้นพื้นที่นั้นเป็นป่าเสื่อมโทรมแล้ว(Neyland 1988). อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการบริหารจัดการของTasmanian แต่ Australian National Parks หรืออุทยานแห่งชาติออสเตรเลียและ องค์การสัตว์ป่าก็ไม่ยอมรับ และไม่เห็นด้วยที่อุตสาหกรรมนี้กลายเป็นการค้าสำคัญที่จะประกันในอนาคตของป่าไม้ได้ จากเหตุการณ์ณ์ดังกล่าวการส่งออก tree fern จึงถูกก่อตั้งขึ้น ในรัฐ Victoria และ New South Wales ใบอนุญาตได้ถูกนำมาใช้บังคับและต้นเฟินจะตัดและเก็บเกี่ยวได้ในเฉพาะพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหรือจากพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวเพื่อนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ไม้เท่านั้น

ภาพที่ 12 หลังการตัดลำต้น และใบ จึงขนถ่ายไว้บนรถบรรทุก เพื่อนำไปยัง Nursery หรือ ท่าเรือ เพื่อบรรจุใส่ตู้Container ส่งออกนานาชาติ

 

 

 

 

 

 

 

 

  ภาพที่ 13 การจัดเรียงต้นเฟินในตู้ Container จะวางนอนโดยให้ต้นใหญ่อยู่ด้านล่าง ซ้อนสูงขึ้นมาโดยต้นขนาดเล็กลง ในซอกเล็กใช้ต้นเล็กแทรกเพื่อไม่ให้มีช่องว่าง ส่วนใหญ่ เมื่อส่งออกต่างประเทศ จะขนส่งส่งทางเรือซึ่งใช้เวลาเป็นแรมเดือนในการเดินทาง ดังนั้น จึงนิยมที่จะบรรจุเฟินอยู่ในContainer ที่มีเครื่องทำความเย็นเพื่อรักษาสภาพของต้นเฟินให้สด

 

Dicksonia Antarctica- Tasmania dicksonia ความงามอายุ 400 ปี

          บางที Tasmanian dicksonia อาจจะเป็นเฟินยอดนิยมที่สุดและเป็นเฟินที่มีการรอดชีวิตได้ดีที่สุดในตระกูลเฟินทั้งหลาย เนื่องจากเป็น tree fern ที่ปลูกง่าย มีความสามารถเอาตัวรอดได้ดี จนมีอายุมากกว่า 400 ปี จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้อย่างง่ายๆว่าทำใมถึงเป็นเฟินยอดนิยม ทั้งนี้เพราะว่า เฟินชนิดนี้ปลูกได้ทุกแห่งและเกือบทุกสภาพ ชาวจีนรู้จักการนำเปลือกของDicksonia ลอกออกเป็นแผ่นนำมาเป็นยาสำหรับหยุดการไหลของเลือด สิ่งที่น่าประหลาดที่พิเศษสุดเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของ Tasmanian dicksonia คือ ลำต้น มันสามารถตัดช่วงไหนก็ได้ในความยาวของลำต้นเหนือผิวดินและเฟินอัศจรรย์ต้นนี้สามารถนำไปปลูกใหม่ได้ และรากใหม่จะงอก ตอไม้เดิมที่ถูกตัดแล้วจะไม่สามารถผลิตต้นใหม่ได้ ตายไปตามธรรมชาติ

 

ภาพที่ 14 แสดงให้เห็นการตัด Manfern ในป่า ตำแหน่งที่ตัดจะสูงจากระดับดินประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อตัดลงมาแล้วใช้เลื่อยยนต์ตัดใบทิ้ง เพื่อสะดวกต่อการขนส่ง ตอเดิมทิ้งไว้ในป่า อาจจะงอกใหม่ได้

 

Tasmanian dicksonia สามารถโตได้สูงสุดถึง 16.00 เมตร ด้วยขนาดเส้นผ่าสูนย์กลางลำต้นที่ 40 เซนติเมตร ยิ่งไปกว่านั้น ปลายยอดสามารถผลิตใบได้มากถึง 60-70 ใบ ซึ่งเป็นสถิติที่ได้รับการบันทึกไว้แล้วจากถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ มีสถิติด้านขนาดของ Tasmania dicksonia ที่น่าอัศจรรย์ที่สุดคือ ได้มีการส่งออกต้น Tasmanian dicksonia จากเกาะTasmania ไปยังประเทศในยุโรป ซึ่งในตู้ container 1 ตู้นั้น บรรจุได้เพียง 1 ต้น เพราะเป็นต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ 1.20 เมตร มีความสูง 6.00 เมตร บนยอดมีแตกออกไปถึง 8 หัว ได้จำหน่ายไปในราคาต้นละ AUS $32,000

ภาพที่ 15 Manfern ขนาดยักษ์ที่น่าจะใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็น ลำเลียงเข้าสู่ตู้ Container เพื่อเดินทางไปยังที่หมายต่อไป

 

แนวคิดการออกแบบ (Design ideas)

การออกแบบให้ Tree fern มีความเหมาะสมน่าจะจัดให้อยู่ในสวนที่มีผนังสูงปิดล้อมรอบ หรือช่วงสูงโล่งภายในอาคาร (atriums) หรือพื้นที่ภายในกรอบที่อยู่กลางอาคาร (courtyards) จัดตำแหน่งวางให้ tree fern ตั้งตรงหรือเฉียงหรือให้ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของพื้นที่เดี่ยวๆ ให้มีความสวยงามมากๆควรจะจัดให้อยู่เป็นกลุ่มก้อน ซึ่งจะทำให้เมหือนคลายความร้อนลงได้ ให้ห่างจากความร้อนหรือปะทะกับลมโดยตรง (http://www.monrovia.com)

ภาพที่ 16 การใช้ Dicksonia Antarctica ตกแต่งพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่ล้อมรอบ มีทางเดินคดเคี้ยวไปมา เป็นการจัดภูมทัศน์โดยใช้ต้นไม้เพียงชนิดเดียว เพื่อเน้นความงามเป็นกลุ่มก้อน โดยไม่ต้องมีไม้อื่นใดผสมเลย

 

                                              

 

 

 

 

ภาพที่ 17 มุมมองที่แตกต่างในพื้นที่เดียวกัน

ภาพที่ 18 การนำDicksonia Antarctica ไปตกแต่งสวนภายนอกโดยผสมกับต้นไม้และเครื่องประดับอื่นๆ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ดูหลากหลาย โดยอาศัยความสูงของต้นใหญ่เป็นจุดเด่นของสายตา

 

 

แนวคิดในการจัดสวน tree fern ที่ Fiona Hall's fern garden โดย Harijs Piekains ได้ให้คำจำกัดความว่า “ การจัดสวนที่ Fiona Hall ที่เป็นอยู่มีความพิเศษมาก เนื่องจากมีความสัมพันธ์ของร่างกายกับโลกธรรมชาติ การใช้พื้นที่ของโลกผ่านสถาปัตยกรรมและสวนคือประวัติการเชื่อมโยงระหว่างที่มนุษย์กับโลกล้อมรอบที่ระดับพื้นฐานที่สุด” (Rebecca Corbell, 'A discussion with Fiona Hall',, artonview, summer 1997–98 )

 

 

 

 

ภาพที่ 19-20 สนามบิน Shangi ที่ประเทศ Singapore ได้นำManfern จากTasmania มาตกแต่งประดับสวนกลางอาคารที่เดินเครื่องปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง การให้น้ำต้องใช้รถ Folklift สูงแล้วฉีดจากยอดลงล่าง สนามบินติดป้ายแสดงคุณสมบัติให้คนที่สนใจได้อ่านเพื่อเข้าใจที่มาโดยประกาศว่าต้นเฟินที่นำมาปลูกในสนามบินนี้มีอายุ 400 ปี

 

ราคาจำหน่ายในตลาดโลก

เนื่องจาก Dicksonia มีการสั่งซื้อจากออสเตรเลียไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆทั่วโลก ดังนั้น ราคาขายในแต่ละแห่งจึงไม่เท่ากัน จาก website แต่ละแห่งได้เสนอราคาขายตามตารางดังนี้

 

ขนาด

ราคาขาย

-

 

 

 

 

mulu.co.uk

-

abbotsbur

urbanjun

mailorde

1ฟุต

25 ปอนด์

 

 

 

 

2 ฟุต

50

110 ยูโร

60 ปอนด์

 

 

3 ฟุต

75

160

 

 

120 ป./เมตร

4 ฟุต

100

 

 

 

 

5 ฟุต

125

190

 

120 ปอนด์

 

6 ฟุต

150

 

 

 

 

7 ฟุต

175

 

 

 

 

8 ฟุต

200

450

 

192ปอนด์

 

10 ฟุต

250

540

 

 

 

12 ฟุต

300

 

 

 

 

ชื่อ website ของผู้ขายที่สามารถติดต่อได้

http://www.mulu.co.uk

http://www.duchyofcornwallnursery.co.uk

http://www.urbanjungle.uk.com

http://www.abbotsburyplantsales.co.uk

http://www.mailorderplants4me.com £120.00

หากสังเกตราคาขายของแต่ละประเทศ จะมีความแตกต่างกันไปบ้าง ราคาที่เสนอขายไม่เท่ากัน ผู้นำเข้าส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบยุโรปมากกว่าทางอเมริกา ผู้นำเข้าในประเทศแถบเอเชียไม่มี Website ระบุไว้ จึงไม่สามารถนำราคามาเปรียบเทียบได้ หากดูจากการนำมาปลูกไว้ที่สนามบินสิงคโปร์แล้ว สิงคโปร์น่าจะเป็นประเทศแรกๆในแถบอาเซียน ที่นำเข้ามาเพื่อการตกแต่งสถานที่ ซึ่งทำให้ Dicksonia Tasmanian เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นไปอีก

 

 

แรงบันดาลใจในการนำเข้า Tasmanian dicksonia

ผมมีความหลงใหลในการเลี้ยงเฟินมานานกว่า 10 ปี โดยเริ่มต้นรักเฟินก้านดำเปรู และนำมาปลูกที่บ้านสวนสันทรายพร้อมขยายตัวอีกมากมาย จากนั้นก็ได้หลงไหล Platycerium holttumii ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่หาง่ายในเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็รักที่จะมีTree fern จึงได้ Cyathea หรือมหาสะดำ มาเลี้ยงไว้ในจำนวนที่พอสมควร แต่ เมื่อเข้าสู่วงการเลี้ยงเฟินอย่างจริงจังในปี 2004 ได้ท่องเข้าไปในโลกของเว็บไซท์ ได้พบกับ Tasmanian dicksonia ในภาพถ่ายที่แสดงไว้ จึงได้เห็นความอัศจรรย์ของเฟินชนิดนี้ ที่มีลำต้นใหญ่และโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ในป่าทึบ ผมจึงเริ่มต้นติดต่อ e-mail เพื่อหาทางที่นำเฟินชนิดนี้มาเลี้ยงให้ได้ แต่เมื่อได้รับคำตอบว่าจะต้องสั่งซื้อครั้งละ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ ผมจึงต้องระงับกิเลสของตนเองไว้แค่นั้น จนกระทั่งเมื่อ 1ปีเศษที่ผ่านมา ชาวTasmanian ซึ่งมีภรรยาเป็นชาวเชียงใหม่ เป็นผู้ที่ดั้นด้นเพื่อจะค้นหาตัวผมให้พบให้จงได้ ได้ติดต่อเข้ามาทาง

 

 e-mail ว่าตนเองอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมจึงให้หมายเลขโทรศัพท์ของผมไว้ หลังจากนั้น เราจึงได้พบกันที่บ้านสวนสันทราย เมื่อพบกันเขาก็นำสำเนา e-mail ของผมมาแสดงให้ผมดู อธิบายว่า ผู้ได้สัมปทานตัด Tasmanian dicksonia ให้ติดต่อผมเพื่อที่จะได้เจรจาความกัน แต่ไม่รู้ที่อยู่ ไม่สามารถติดต่อกันได้เป็นเวลา 6 เดือนแล้ว ดังนั้น เมื่อได้พบสนทนากันจึงเริ่มมีความสนิทสนมเป็นลำดับ หลังจากที่เขากลับไปยังเกาะ Tasmania แล้วเราก็ยังคงมีการติดต่อผ่านโทรศัพท์บ้าง e-mail บ้าง เขาได้ส่ง Platycerium ซึ่งผมขอให้เป็น P. superbum แต่กลับได้ P.hillii มาแทน หลังจากนั้น เมื่อ วันที่ 27 กันยายน 2548 เขาได้ส่ง Tasmanian dicksonia ทางเครื่องบิน 1 ต้น สูงประมาณ 1 ฟุต และต้นเล็กๆอายุ 1 ปี อีก 64 ต้น มาให้ทดลองปลูก ซึ่งหลังจากดูพฤติกรรมการเติบโตทั้งต้นใหญ่และต้นเล็ก เห็นความเจิญเติบโตดี ไม่มีความเสียหายทั้งด้านศัตรูพืช และอากาศบ้านเรา ผมจึงได้ข้อสรุปว่า Tasmanian dicksonia น่าจะเลี้ยงให้เติบโตและรอดชีวิตในเมืองไทยได้ ผมจึงตัดสินใจขอให้เขาส่งมาให้ผม 1 คอนเทนเนอร์

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2549 เขาได้โทรศัพท์มาจาก Tasmania ให้ผมโอนเงินไป เพราะได้เฟินแน่นอนแล้ว จึงต้องเริ่มกระบวนการส่งออก โดยผ่านท่าเรือ Davenport เมืองท่าสำคัญของเกาะTasmania เฟินใช้เวลาล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรประมาณ 20 กว่าวันจึงมาถึงท่าเรือคลองเตยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 เมื่อทำธุรกรรมทางภาษีนำเข้าเสร็จจึงนำตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกใส่รถเทลเลอร์เดินทางขึ้นไปเชียงใหม่ ถึงเชียงใหม่วันที่ 4 มีนาคม 2549 เวลา 15.00 น. รวมเวลาที่เฟินอยู่ในตู้เย็นคอนเทนเนอร์ ประมาณ 1 เดือนเศษ น้ำหนักต้นเฟินรวมทั้งหมดประมาณ 11 ตัน มีจำนวน 199 ต้น ความสูงเฉลี่ย 1 ฟุต ถึง 10 ฟุต เมื่อไปถึงผมต้องใช้รถกะบะถ่ายเฟินออกจากคอนเทนเนอร์อีกครั้งเนื่องจากถนนในบ้านสวนกว้างไม่พอต่อการกลับลำของเทลเลอร์ขนาดใหญ่ ใช้เวลาขนถ่ายทั้งหมด 4 ชั่วโมง ใช้คนงาน 5 คน เพราะลำต้นสูงและใหญ่มีน้ำหนักมาก หลังจากนั้น ผมต้องใช้เวลาอีกถึง 3 วัน จึงสามารถจัดเรียงเฟินให้ตั้งลำตรง มัดติดกับไม้ไผ่ คลุมด้วยซาแลนกันแดดสูงประมาณ 5 เมตร การจัดเรียงจึงดูเรียบร้อย ส่วนต้นเล็กขนาดสูง 1-2 ฟุต นั้น จะปลูกในกระถาง เพื่อสะดวกต่อการดูแลและขนส่ง

จากนี้ไปมีหน้าที่ประจำที่จะต้องทำ คือ

1.      รดน้ำให้ชุ่มตลอด

2.      คอยสังเกตอาการและปัญหา

3.      สังเกตและบันทึกภาพความเจริญเติบโต ดูใบใหม่งอก

การนำเข้าที่ใช้เวลายาวนานกว่า 1ปี มีเจตนารมณ์หลักใน คือ ผมต้องการให้เฟินชนิดนี้ปรากฏตัวต่อสายตาสาธารณชนทั่วไป ดังนั้น จึงตั้งใจจะปลูกเฟินนี้ในบ้านสวยสันทรายให้กลายเป็นสวรรค์ของtree fern หลังจากนั้น จะติดต่อกับเจ้าของสถานที่ ที่มีสาธารณชนเข้าไปใช้สอย เช่น สวนพฤกษศาสตร์ สนามบิน รีสอร์ทหรือโรงแรม เป็นต้น

ภาพการลำเลียงต้นเฟินจากรถเทเลอร์เข้าสู้บ้านสวนสันทราย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2549

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพของต้นเฟินภายหลังจัดวางและดูแลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เฟินเริ่มแตกใบใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขณะนี้ ต้นเฟินทั้งหมดได้รับน้ำเช้ากลางวันเย็น  สภาพอากาศภายในสวนช่วงเช้า เย็น สบาย ช่วงบ่ายค่อยข้างอบอ้าวอุณหภูมิประมาณ 36 องศา ช่วงค่ำจนถึงสว่างอากาศเย็นสบาย ความชื้นที่ต้นเฟินได้รับมาจากการให้น้ำโดยตรงด้านบนสุดตลอดจนทั่วลำต้น ประกอบกับด้านล่างที่เป็นหญ้าและดินช่วยให้เก็บความชื้นได้ ต้นเฟินทั้งหลายจึงทยอยแตกใบใหม่

ท่านที่สนใจและมีความเห็นเพิ่มเติมกรุณาติดต่อได้ที่ niwattan@yahoo.com หรือ โทรศัพท์หมายเลข 01-595 8410

ดร.นิวัตร ตันตยานุสรณ์

22 มีนาคม 2549

References:

Large & Braggins (2004) Tree Ferns Timber Press Inc.

Hoshizaki&Moran (2002) Fern Grower’s Manua,l  Revised and Expanded Edition, Timber Press

C.H. Chaffey’s Australian Ferns – growing them successfully

Flora Australia volume 48

Wrigley, J.W. and Fagg, M. (1996) Australian Native Plants 4th ed, New Holland - Reed Publishers, Sydney.

www.fernsiam.com

http://www.angelfire.com/wa/margate/antarctica.html

http://www.letsgogardening.co.uk/Information/EG/plants/Dicksonia.htm

http://www.monrovia.com

http://www.anbg.gov.au

http://www.home.aone.net.au

http://www.utas.edu.au

http://www.deh.gov.au/    (commercial export of ferns)

http://www.nga.gov.au/sculpturegarden/fernGarden.htm

http://sres.anu.edu.au/associated/fpt/nwfp/ferns/ferns.html

http://www.tropicalcentre.com/boomvarens/dicksoniaantarctica/dicksoniaantarctica.htm