ชื่อไทย : |
เฟินก้านดำหางชิงช้า กูดหูควาก ก้านมีครีบ | ||
ชื่อสามัญ : |
- | ||
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Adiantum philippense sp. | ||
จัดเป็นเฟินดินพบได้ตามภูเขา ริมลำห้วย ลำธารในระดับพื้นราบจนสูงถึงระดับ 1000 เมตร ทั่วประเทศไทย ใบเป็นแบบประกอบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว หรือรูปพัด สวยงามมาก อัปสปอร์เกิดตามรอบใบเป็นแถวยาว ก้านใบยาวประมาณ 10-30 ซ.ม. ปลูกเลี้ยงได้ไม่ยาก แต่มีการแตกกอน้อย เฟินชนิดนี้ชาวบ้านใช้เป็นยารักษา อาการบวม ฝีพุพอง ห้ามเลือด โรคลมบ้าหมู โรคเท้าช้าง บำรุงมดลูกหลังคลอด ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ลักษณะเด่นของเฟินชนิดนี้ที่แต่ต่างจาก เฟินก้านดำหางชิงช้า กูดหูควาก คือมีครีบใสๆ ที่ก้านจนถึงโคนใบ จัดเป็นเฟินที่หายากชนิดหนึ่ง |
|||