ป่าแรกของผม....

โดย ศักรินทร์ สรรพศรี (kokorin)


             เมื่อผมซื่อเฟินมากระถางหนึ่ง ที่ยังไม่เคยเลี้ยง ผมก็จะต้องมาททดลองเลี้ยงก่อน
โดยมีขั้นตอนของผมเองคือ

  • เลี้ยงอย่างไรให้รอด
  • เลี้ยงอย่างไรให้เจริญเติบโตดี
  • และเลี้ยงอย่างไรให้สวย

ทั้งหมดนี้เป็นการเลี้ยงอยู่ที่บ้าน หรือที่โรงเรือน โดยสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมบางอย่างได้ เช่น วัสดุปลูก,แสง,น้ำ,ความชื้น ถึงจะสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้ ในบางเฟินชนิด ผมก็ทำไม่ได้แม้แต่จะเลี้ยงมันไห้รอด แต่ถ้าคุณได้รู้ที่มาของเฟินชนิดนั้นๆ ว่า

  1. เป็นประเภทใด คือ เฟินดิน,เฟินน้ำ,หรือเฟินอิงอาศัย
  2. มาจากที่ใด คือ ภูมิประเทศในแถบที่อยู่อาศัย, ความสูงจากระดับน้ำทะเล.
  3. หรือความชื้นในอากาศ
  4. มีการพักตัวในฤดูหนาวหรือไม่
  5. คุณลักษณะพิเศษของเฟินชนิดนั้นๆ เช่น( )

คุณก็จะรู้ได้เลยว่าสามารถเลี้ยงเฟินชนิดนั้นๆได้โดยวิธีใด,เลี้ยงมันได้ดีในระดับไหน

หรือควรจะเลี้ยงมันหรือไม่ (เลี้ยงไปก็ตายแน่ๆ)

               แต่ถ้าคุณสามารถไปเห็นมันกับตาตัวเองในสภาพธรรมชาติ จะยิ่งทำให้คุณเข้าใจมันมากขึ้น และผมก็อยากจะเห็นเช่นกัน จึงเรียกร้องให้พไข่ี่พาผมไปเสียที่ หลังจากไปเที่ยวที่สวนไทเฟินไม่รู้กี่ครั้งแล้ว เส้นทางที่ไปก็ผ่านป่ามากมายไม่รู้จะกี่ป่า แต่ก็ไม่เคยลงไปเดินกับเขาสักที ในที่สุดการเรียกร้องของผมก็สำเร็จผลจนได้ คงเป็นเพราะพี่แกทนรำคาญผมไม่ได้

             16:32น. เหมือนอย่างเคย ผมและพี่ไข่เตรียมสัมภาระส่วนตัวใส่ด้านหน้ารถ ส่วนของฝากเจ้าชาติผู้ดูแลโรงงานผลิตเฟินแห่งสวนไทเฟิน เป็นมะพร้าวสับ, กระถางขนาดต่างๆ, เฟินตัวใหม่ให้เจ้าชาติไปดูแล ฯลฯ อัดแน่นอยู่ที่ท้ายรถ   แต่เที่ยวนี้พิเศษกว่าทุกๆครั้ง เพราะว่าพวกเรามีโปรแกรมเดินป่า เป็นทริิปสั้นๆสักครึ่งวัน จึงต้องรีบออกเดินทางให้เร็วกว่าปกตินิดหน่อย

19:28น. เริ่มออกเดินทางจากซอยช้าง นนทบุรี โดยพี่ไข่เจ้าของรถเป็นคนขับก่อน อีก 700 กว่ากิโลเมตร จะถึงจุดหมายปลายทางที่อำเภออุ้งผาง จังหวัดตาก ระหว่างทางผมเริ่มซักถามเรื่องการเดินป่าด้วยความสนใจ เพราะว่าครั้งนี้จะเป็นการเดินป่าครั้งแรกของผม การพูดคุยออกรสชาติ ตามประสาคนคอเดียวกัน

               03:35น. เช้าวันใหม่ ผมมาขับแทนพี่ไข่ได้ประมาณ 3 ชั่วโมงแล้ว เราแวะเติมน้ำมันที่อำเภอแม่สอด และซื้อของกินเล่นนิดหน่อย อุณหภูมิเริ่มเย็นมาตั่งแต่จังหวัดชัยนาท เสื้อกันหนาวทหารมือสองจากประเทศเกาหลีใช้ได้ดีเวลานี้ ไม่นานเราก็เริ่มออกเดินทางต่อ โดยมุ่งหน้าอำเภอพบพระ ที่อำเภอพบพระผมเปลี่ยนให้พี่ไข่ซึ่งหลับเอาแรงได้ระยะหนึ่งแล้วขับต่อจนถึงอำเภออุ้งผาง

               05:20น. เรายังไม่เห็นแสงอาทิตย์ของวันใหม่ มีเพียงไฟหน้ารถนำทาง ผมเริ่มตื่นหลังจากหลับได้ประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าไม่นานรถก็มาจอดที่หน้าบ้านเจ้าชาติ พวกเราลงจากรถ อุณหภูมิในเวลานั้นหน้าจะต่ำกว่า10องศา จากแสงไฟหน้ารถ มองเห็นละอองน้ำเล็กๆเหมือนฝุ่นลอยอยู่ในอากาศจำนวนมาก มีเสียงน้ำค้างหยดจากใบไม้ใบหนึ่งไปอีกใบหนึ่ง ฟังคล้ายเสียงฝนเริ่มซา เจ้าชาติเดินออกมาต้อนรับพร้อมผ้าห่มคุมกาย มีรอยยิ้มจากมุมปากเหมือนจะบอกว่า “เป็นยังไง หนาวไม๊ล่ะ” แล้วเชื้อเชิญเราขึ้นบ้าน พวกเรานั่งพักได้ไม่นานเมียเจ้าของบ้านก็ยกข้าวต้มร้อนๆมาให้เราอุ่นท้องก่อนเดินป่า

06:10น. พี่ไข่สอบถามเส้นทางการเดินป่าพร้อมกำหนดเวลากลับจากป่ากับเจ้าชาติผู้นำทาง ระหว่างนั้นผมจัดเตรียมน้ำและอาวุธคู่กายใส่เป้หลังใบเล็กเป็นที่เรียบร้อย เราจึงเริ่มออกเดินทางด้วยเท้า เพราะว่าป่าที่เราจะไปนั้นอยู่หลังบ้านเจ้าชาตินี้เอง!!!...?
เดินเท้าจากบ้านเจ้าชาติไปทางทิศตะวันตก มาได้ระยะหนึ่ง พรานนำทางของเราก็ชี้ให้ดู“ผาผึ้ง”ที่หมายการเดินป่าในครั้งนี้!!  “ผาผึ้ง” ที่ผมมองเห็นนั้นเป็นภูเขาหินลูกโต บนยอดสูงสุดเป็นหน้าผาหินสูงชันจากพื้นราบประมาณ 250-300 เมตร มีต้นไม้จำพวก จันผา, กล้วยผา, และไม้ยืนต้นอื่นๆปกคุมอยู่หนาตาพอสมควร ราไม่มีทางขึ้นด้านหน้า ต้องเดินอ้อมเป็นระยะทางหลาย กิโลเมตร ถ้าต้องการขึ้นไปยืนที่หน้าผาแห่งนั้น เจ้าชาติเดินนำหน้าพร้อม พูดจาทักทายกับเพื่อนบ้านเป็นภาษาท้องถิ่นตลอดทางในเขตหมู่บ้าน
               อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้น  พวกเราเดินเข้าเขตพื้นที่เพาะปลูกของชาวบ้าน ซึ่งส่วนมากทำไร่ข้าวโพด  ผมเริ่มเห็นเฟินที่แกะตามต้นไม้ใหญ่ อย่างพวกเฟินชายผ้าสีดา ปีกผีเสื้อ ( ห่อข้าวยาบา) เฟินหางนก เฟินอีแปะ เป็นต้น เฟินพวกนี้ดูเหมือนเป็นวัชพืชในความคิดของชาวบ้านแถบนี้

                พี่ไข่เดินมาหยุดตรงต้นไม้ใหญ่ใกล้สะพานข้ามลำธาร เพื่อถ่ายรูปเฟินอีแปะเถาหนึ่ง ส่วนสะพานที่เราต้องข้ามไปนั้นทำจากไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ดูไม่ค่อยจะมั่นคงสักเท่าไร ด้วยกระแสน้ำในลำธารที่ไหลแรงเอาการอยู่ แม้จะเป็นช่วงที่หมดฝนไปแล้วก็ตามที พอพวกเราข้ามสะพานได้ ต่อไปทางเดินของเราจะไม่มีทางราบอีกแล้ว จะมีแต่ทางเดินขึ้นเขา และขึ้นเขา
                ผมเดินรั้งท้ายสุด ห่างจากหนุ่มเล็ก และหนุ่มใหญ่สองคนนั้นประมาณ10เมตรได้ 10เมตรที่เป็นทางขึ้นเขานั้นมันไกลโขอยู่ พี่ไข่หยุดถ่ายรูปอีกครั้งผมจึงเดินตามทันกลุ่ม มุมถ่ายรูปของแกเงยขึ้นไป20เมตรได้ เฟินที่ถ่ายนั้นเป็นเฟินชายผ้าสีดาหูช้าง ขนาดใหญ่เท่าโอ่งมังกรได้ ที่มันยังอยู่ได้เป็นเพราะด้วยขนาดและความสูงที่มันเกาะอาศัย
               เรายังคงพบ เฟินชายผ้าสีดาปีกผีเสื้อตามทางตลอด ท่ี่เกาะตามต้นไม้ใหญ่บ้าง กิ่งไม้ที่มันเกาะหักลงมาอยู่ตามพื้นด้วยแรงลมบ้าง หรือแม้แต่เกาะอยู่บนก้อนหิน ซึ่งแปลกตาสำหรับผม

              06:40 น. พวกเราเดินมาถึงทางราบอีกช่วงหนึ่ง พอให้ได้พักเหนื่อยบ้าง ผมได้ยินเสียงพี่ไข่ท่าทางตื่นเต้นแกคงเจอเฟินอะไรสักอย่าง พาให้ผมตื่นเต้นไปด้วย แล้วรีบเดินไปหาพี่ไข่ทันที แม้ว่ายังไม่หายเหนื่อยดีนัก เฟินที่พบมีแต่ใบสปอร์2-3ใบ สปอร์ไต้ใบมีสีเหลืองทองลักษณะเหมือนเม็ดข้าวเปลือก2อันประกบกัน พี่ไข่บอกพวกเราว่าเฟินตัวนี้มีลักษณะคล้ายเฟินทองอินทนน แต่คงไม่ใช่แค่อยู่ในสกุลเดียวกัน พี่ไข่บอกว่าเป็นเฟินในสกุล Onychium อับสปอร์หนาตอนแก่มีสีเหลือง แกว่า”มาคราวนี้ไม่เสียเทียวแล้วเจ้าต้น”นั้นแค่เฟินดินชนิดแรกทีเราพบ แล้วพี่ไข่เก็บภาพเฟินตัวนี้แบบไม่นับ
                เมื่อพี่ไข่เก็บภาพจนพอใจ พวกเราก็เดินเรียบไร่ข้าวโพดของชาวบ้านไปตามทาง มาหยุดตรงก้อนหินใหญ่ พี่ไข่เรียกเรามาดูตามเคย เฟินตันนี้มีลักษณะรูปใบคล้ายเฟินนาคราช แต่มันอยู่ในสกุล Asplemiun ขึ้นอยู่ตามรอยแยกของหิน พวกเราเริ่มเดินตัดป่าไผ่เข้าด้านในป่าเบญจ ที่มีความชื้นมากขึ้น

            

และแล้วผมก็พบเฟินในสกุลที่เป็นเป่าหมายในการเดินป่าครั้งนี้ของผม เป็นเฟินในสกุลเฟินก้านดำ ก้านดำที่พบคือกูดผานั่้นเอง ต้นนี้อยู่เพียงลำพังในซอกหินและยังไม่พักตัวได้น้ำค้างตอนเช้าช่วยประทังชีวิติไปได้ ไม่ต้องเป็นเจ้าหญิงนิททรายามฤดูหนาว
 มีกนกนารี ที่โดนแสงจัดขาดน้ำเริ่มแห้งเหี่ยวไปบาง และยังพบต้นไม้ชนิดอื่นที่น่าสนใจเช่น บีโกเนีย  เกาะตามเนินดินและซอกหิน

                      มาถึงตรงนี้พวกเราแยกย้ายดูเฟินกันตามสะดวก ส่วนผมนักพักได้ไม่นาน พี่ไข่ก็เรียกมาดูเฟินก้านดำที่มีลักษณะคล้ายกูดผา แต่มีความยาวของก้านใบมากกว่าปกติประมาณ 50 ซ.ม. ขอบใบมนสปอร์ใต้ขอบใบยาวต่อเนื่อง เกือบจะเป็นเส้นเดียวกัน มองไม่เห็นลักษณะ walking fern แบบกูดผา
              ในบริเวณใกล้เคียงกันยังพบเฟินก้านดำอีกชนิดก็คือเฟินหางนาคปกเป็น Walking fern อีกชนิด ลักษณะใบประกอบขนนกชั้นเดียวเรียงต่อกันจนชิดคล้ายเฟินใบมะข้าม ขอบใบประกอบเป็นรอยยักตื้นๆสปอร์เกิดที่ใต้ขอบใบ

 
ต่อหน้า 2