ช่วงหลัง ๆ มานี่ผมไม่มีโอกาสได้การท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะตามป่า-เขาได้บ่อย ๆ เหมือนอย่างเคย ในขณะที่กำลังเบื่อชีวิตเอาอย่างจริง ๆ จัง ๆ แต่แล้ว..จู่ ๆ
บังเอิญเหลือเกิน ..พี่ที่ทำงานเดียวกันหลุดปากชวนผมไปเที่ยวป่าที่เวียงแหงโดยการล่องแพไม้ไผ่ที่ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ในลำน้ำแม่แตงช่วงเวียงแหง-ปางดง..ผมเองก็ชอบ
ธรรมชาติป่าเขาอยู่แล้วนี่ครับจะพลาดได้ไงกัน..ช่วยไม่ได้หลวมตัวให้เราเป็นผู้ติดตามเอง... การล่องแพครั้งนี้ถือว่าเป็นการสำรวจเพื่อนำร่องการท่องเที่ยวในรูปแบบการล่อง
แพที่นี้ ซึ่งผู้นำท้องถิ่นที่นี่หมายมั่นปั้นมือว่าจะให้เป็นที่ยอดนิยมต่อไปในวันข้างหน้า...ผมรู้สึกอดตื่นเต้นไม่ได้ที่หัวหน้าคณะในครั้งนี้บอกกับเราว่าลำน้ำแม่แตงช่วงนี้(เวียง
แหง-เชียวดาว) นอกจากชาวบ้านท้องถิ่นแล้วยังไม่เคยมีนักท่องเที่ยวชาวไทยคนไหนเคยล่องมาก่อน พวกเราเป็นคณะแรกในเมืองไทย (เคยมีฝรั่งอยู่กลุ่มนึงล่องไปนานแล้ว)
ส่วนใหญ่จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องอยู่ในช่วง อ.แม่แตง ซึ่งมีระยะสั้น ๆ ไม่อันตราย จากสายน้ำ และผู้คน.....และยังกับเราอีกบอกว่าเส้นทางที่พวกเราจะล่องแพช่วงเวียงแหง-
เชียงดาวนี้ ป่าสวยงาม ธรรมชาติ สายน้ำยังบริสุทธิ์อยู่มาก ๆ...ทำให้ผมมีเรื่องที่คาดหวังในใจขึ้นมาอีกอย่างคือ ผมในเมื่อป่ายังสวย ก็คงจะมีเห็นเฟินแปลก ๆ ให้เห็นกันบ้าง..
.แต่จะเป็นเฟินอะไรก็ช่าง ถ้าอยู่ในธรรมชาติที่ควรอยู่ก็สวยงามทั้งนั้น..........ตามผมมาซิครับไปดูกันซิว่าผมเจอเฟินอะไรบ้าง.....
 
เส้นทางจากเชียงดาว-เวียงแหง เป็นภูเขาสูงชันผ่านป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ สูงขึ้นไปอีกก็เป็นป่าสนสองใบ-สาม
ใบ พอเริ่มขึ้นเขาสูงก็เริ่มเห็นเฟินมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะพวก โชน เฟินพวกนี้ชอบขึ้นในที่ลาดชันตามภูเขา ตาม
พื้นดินที่เป็นดินทรายที่ระบายน้ำดี เป็นเฟินที่ชอบแสงแดด แต่ต้องอากาศเย็น เหง้าจะเลื้อยอยู่ใต้ดิน ทำให้ช่วยลด
การพังทลายของหน้าดินได้เป็อย่างดี เวลาฝนตกถ้าไม่มีเฟินพวกนี้ภูเขาหัวโล้นที่เห็นอาจถล่มลงมาทั้งลูกก็เป็นได้ รถ
ไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็มีเฟินให้เห็นมากขึ้น โดยเฉพาะตามคาคบไม ้เฟินกระเช้าสีดาห่อข้าวย่าบา มีให้
เห็นอย่างดาดดื่น บางต้นกะด้วยสายตาเส้นผ่าศูนย์กลางครึ่งเมตรเห็นจะได้ มองไปตามพื้นดินไหล่ทางที่มีความชื้น
มาก ๆ ก็จะเห็น สามร้อยยอด ขึ้นอยู่เป็นระยะ (ตำราบางเล่มบอกว่าสามร้อยยอดเป็นไม่ไช่เฟินที่แท้จริงเป็นพืชทีใกล้
ชิดเฟิน)....คณะของเราถึงหน่วยจัดการต้นน้ำขุนคอง ซึ่งเป็นที่พักคืนแรก...ก่อนอาหารเย็นผมเดินสำรวจรอบ ๆ ที่
พักบริเวณริมลำธารพบเฟินที่ชาวบ้านเรียกว่า ผักกูด (กูดห้วย, กูดน้ำ, กูดกิน) ขึ้นเป็นดงเลย เฟินชนิดนี้ชาวบ้านนำ
ยอดอ่อนมาประกอบอาหารกินอร่อยดีครับ ทำอาหารได้หลายอย่าง ร้านอาหารต่างจังหวัดบางร้านนิยมนำไปเป็นเมนู
จานเด็ดด้วย นอกจากนี้ยังมีพวก กูดขนคางพญานาค , กูดตาด หรือ กูดกะจิงดูแพ ะ (ก้านใบยาวเกือบ 2 เมตร) ตาม
คาคบไม้ก็มีพวก เฟินข้าหลวง และ กระแตไต่ไม้ , กระประรอกเล็ก เกาะให้เห็นอยู่หลายต้น.......ใกล้ค่ำหมดเวลา
สำรวจซะแล้วผมเลยต้องรีบไปจัดการกางเต๊นท์นอนก่อนที่จะมืด....คืนนี้ก่อนนอนดูเทอร์โมมิเตอร์ที่หน้าเต๊นท์ 9
องศาc ...หนาวสะใจดีจริง ๆ..... จัดการกับอาหารเช้าเสร็จก็เดินทางไปลงแพที่คุ้มนาคาของพี่สง่า พี่ที่จัดการความ
พร้อมใน Trip นี้ ก่อนลงแพพี่สง่าพาไปดูถ้ำงู ที่อยู่ใกล้ ๆ กับคุ้มประมาณ 200 เมตร ชาวบ้านเล่าว่าในถ้ำมีงู
เหลือมอยู่ประมาณ 30-40 ตัว ทางลงถ้ำอยู่บริเวณเชิงเขา เดินหาทางเข้ากันอยู่ตั้งนานกว่าจะเจอปากถ้ำซึ่งเป็นช่อง
เล็ก ๆ พอดีกับตัวคนรอดลงไปได้ และต้องไต่ไม้ไผ่ลงไปด้วย พอถึงเวลาจะลงถ้ำทุกคนให้คณะปฎิเสธอย่างนุ่มนวล
ว่าอย่าไปรบกวนเค้าเลยให้เค้าอยู่อย่างสงบจะดีกว่า...โล่งอกไปที... เวลานั้นผมไม่มีสมาธิในการสอดส่องเฟินอย่าง
เคยเพราะกลัวจะไปเหยียบหัวงูเข้า เฟินที่พอจะเห็นอยู่บริเวณนั้นก็มี กูดควาก และ เฟินหางไก่ ...แค่นี้ก่อนแล้วกัน..
.เสียวงู!
 
ไม้ค้ำถ่อแพแตะน้ำ ประมาณ 4 โมงเช้า ทุกคนโห่ร้องเอาฤกษ์ แต่ผมว่าทุกคนร้องเพื่อระงับความตื่นเต้น
มากกว่า แพที่เราใช้ล่องยาวประมาณ 5 เมตร กว้าง 1 เมตร อยู่บนแพได้ 3 คน ...ช่วงแรกที่แพล่องผ่านตามริมตลิ่ง
ผมเห็น กูดห้วย ขึ้นเต็มไปหมดชาวบ้านแถวนี้คงกินกันจนเบื่อ นอกจากนี้ยังมีพวก กูดควาก , ขนคางพญานาค, กูด
ตาด
...ช่วงแรกลำน้ำแตงยังมีแก่งไม่มากนัก ยังพอมีเวลามองเฟินที่อยู่ที่สูงได้บ้างที่เห็นตามคาคบไม้ก็มีพวก เฟินเจ้างู
เขียวเล็ก
, กระแตไต่ไม ้, ห่อข้าวย่าบา , ลิ้นผีไม ้, ข้าหลวงหลังลาย .....ถ่อแพชมนกชมไม้ไปเรื่อย ๆ ช่วงนี้แก่งยังไม่
โหดอย่างที่คิด แต่ที่เจอกันตลอดทางก็เป็นสะพานธรรมชาติ (ต้นไม้ที่ล้มพาดลำน้ำ) เวลาแพผ่านต้องกระโดดข้าม พ้น
บ้างไม่พ้นบ้างแล้วแต่จังหวะตกน้ำตกท่ากันไปหลายคน บางต้นกระโดดข้ามไม่ได้ต้องนอนราบไปกับแพต้นไม้เฉียด
ใบหน้าไปนิดเดียวคิดดูถ้าใบหน้าเราไม่ผ่านต้นไม้ที่พาดอยู่จะเกิดอะไรขึ้น..คิดแล้วหวาดเสียว!ไม่หาย....

เราเจอสะพานธรรมชาติกันจนนับไม่ถ้วน...ช่วงหลังเริ่มเจอแก่งถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ...ป่าริมฝั่งลำน้ำช่วงนี้เป็นป่าดิบแล้ง ป่า
เบญจพรรณ ผ่านไร่ของชาวบ้านเป็นระยะ ตามต้นไม้บริเวนี้มี เฟินอีแปะ เกา ะ อยู่ให้เห็นตลอดทาง ประมาณเที่ยง
กว่า ๆ จอดแพกินข้าวกลางวันกันริมน้ำใกล้ๆ หมู่บ้านห้วยหญ้าไทร เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ เด็ก ๆ ชาวเขามาอาบ
น้ำกันพอดี แววตาใสซื่อมองพวกเราด้วยสายตาที่อยากรู้อยากเห็น.... ทุกคนหิวกันจนตาลายพลังงานจากข้าวต้มไก่เมื่อ
ตอนเช้าหมดไปตั้งแต่ลงจากถ้ำงูแล้ว.....อ้อ!มีเรื่องจะเล่าให้ฟังนิดนึงก่อนที่จะออกเดินทางต่อ คนนำทางบอกว่าเขาหมู่
บ้านนี้เด็กผู้หญิงถ้าอายุเกิน 14 ปี ถือว่าขึ้นคาน ไม่มีหนุ่มคนไหนมอง เด็กผู้หญิงที่เราเห็นแก้ผ้าเล่นน้ำอีกไม่กีปีก็คง
แต่งงาน....แค่นี้หล่ะที่อยากเล่าให้ฟัง

ช่วงเวลาที่จัดการกับอาหารกลางวันคนนำทางบอกว่านับจากนี้ไปเราจะล่องแพในลำน้ำที่ผ่านป่าดงดิบตลอดเส้นทาง
จนถึงที่ค้างแรมในคืนนี้......จัดการกับอาหารกลางวันเสร็จก็รีบออกเดินทางกันทันที ถ้าช้าแล้วมืดกลางทางจะ
ลำบาก....จริงอย่างที่คนนำทางบอกสองฝั่งลำน้ำเป็นป่าทึบ ตามต้นไม้ และหน้าผามีตะไคร่น้ำ มอส เฟิน กล้วยไม้ป่า
นานาชนิดเกาะอาศัยเต็มไปหมด เฟินก็มีพวก เฟินชาไก่ , กูดเวียนกูดอ้อม , เฟินเจ้างูเขียวเล็ก - ใหญ , เฟินลิ้นผีไม้,
ข้าหลวงหลังลาย ,เฟินใบมะขาม , กูดดอย ขึ้นอยูตามหน้าผาก็มี......ช่วงนี้สายน้ำเริ่ม ดุดัน มากขึ้น สะพานธรรมชาติ
แทบไม่เจอ...เจอแต่แก่งที่แพผ่านยากขึ้นบางครั้งต้องลงไปเข็น ไม่ค้ำถ่อเริ่มหัก แพเริ่มแตก ต้องจอดมัดกันบ่อยขึ้น ตก
น้ำกันตลอดทาง พวกที่มีกล้องก็รักษากันสุดชีวิต....ผมเริ่มรู้สึกอ่อนล้ามากขึ้น สายตาที่เคยสอดส่องเฟินตามริมน้ำ
หน้าผา คาคบไม้ ก็ต้องละสายตามามองที่แก่งน้ำข้างหน้าเพียงอย่างเดียว....ช่วงไหนที่ถึงวังน้ำลึกก็พอได้มองดูเฟิน
กันบ้างที่เห็นแล้วบอกได้ว่าที่นี่คือป่าดงดิบก็คือเฟินที่อยู่ใน สกุลหัสดำ ซึ่งชอบขึ้นในที่ชื้น หรือใกล้ลำธาร ...สองฝั่งลำ
น้ำมีลำธารที่ไหลมาบรรจบกันหลายสายมีให้เห็นตลอดทาง มิน่าเล่าน้ำถึงมากมายอย่างนี้ ผาน้ำหยดก็มีให้เห็นตลอด
ทาง ที่ผาน้ำหยดที่แหละผมเห็น กูดใบเล็ก เป็นเฟินก้านดำขึ้นอยู่บนหินปะปนอยู่กับมอส และที่ไม่บอกไม่ได้ก็คือผม
เห็น ฟิล์มมี่เฟิน (เป็นเฟินที่เล็กที่สุดในโลก) ขึ้นอยู่บนโขดหินด้วย แต่ไม่มีโอกาสได้ถ่ายรูป เสียดายจริง ๆ แค่โอกาสที่
จะยืนให้อยู่บนแพไม้ไผ่ได้อย่างมั่นคงยังอยากเต็มทน เพราะต้องผ่านแก่งตลอดทาง บางครั้งแพก็ค้างอยู่บนก้อนหิน ผมตกน้ำบ่อยขึ้น ทั้งเจ็บ ทั้งหนาว เราต้องจอดซ่อมแพกัน
บ่อยขึ้น.....ดวงตะวันเริ่มลับเหลี่ยมเขา อากาศก็เย็นลง แถมตัวเรายังเปียกน้ำอีก ทั้งหนาว ทั้งเหนื่อย........
 
7 ชั่วโมง ของการอยู่บนแพไม้ไผ่ ...ในที่สุดพวกเราทุกคนก็ถึงปางไทรจุดหมายปลายทางที่ค้างแรมในคืนนี้ มีเจ้าหน้าที่ อส.ของเวียงแหงคอยต้อนรับเราอยู่ วันนี้เราได้กินอาหารแบบป่า ๆ หุงข้าวในกระบอกไม้ไผ่ หลามปลา (แกงปลาในกระบอกไม้ไผ่)ที่จับจากลำน้ำแม่แตง ผักสด ๆ ที่หาได้จากบริเวณนั้น กินข้าวอิ่มแล้วยังมีน้ำสมุนไพรที่หาได้จากบริเวณนั้นต้มจากกระบอกไม้ไผ่ให้กลั้วคออีก แก้วน้ำก็ทำจากกระบอกไม้ไผ่...ผมรู้สึกเป็นสุขมากที่ได้ใช้ชีวิตแบบนี้ ...มีสิ่งนึงที่ผมรู้สึกเสียดายอย่างมากในขณะที่ใช้ฟืนหุงหาอาหารก็คือ ท่อนไม้ผุ ๆ ที่เราใช้เป็นฟืนมีเฟิน-กล้วยไม้ป่าเกาะอยู่ทุกท่อนแต่พี่ อส.ของเราก็ใส่ไฟโดยไม่รู้สึกสงสารเฟินเหมือนอย่างเรา คงจะเป็นเพราะว่าพวกพี่ ๆ เค้าเห็นกันจนเบื่อแล้วละมั๊งเลยไม่รู้สึกอะไร...เสียดายจัง.....คืนนี้ 9 องศาc เหมือนเดิม.... งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา เช้าวันนี้ทุกคนต้องเดินกลับกันแล้ว หลังอาหารเช้าเสร็จเราก็ออกเดินทางกันทันที รถ 4x4 WD พาเราบุกออกจากป่า ต้องลุยผ่านลำธารเป็นสิบ ๆ ครั้ง ผ่านสังคมป่าหลายรูปแบบทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าสนสองใบ-สามใบ ยังผ่านไร่นาของชาวบ้านที่อุตส่าห์ดั้นด้นไปทำกันถึงในป่าเขา ตลอดเส้นทางผมมองเฟิน-กล้วยไม้ป่าอย่างชุ่มชื่นหัวใจ.........
เราถึงเวียงแหงตอนสาย แล้วทุกคนแยกย้ายกันกลับไปตามเส้นทางของตัวเอง ผมรู้สึกอาลัยเวียงแหงเสียจริง ๆ อาลัยธรรมชาติ-สายน้ำที่ยังบริสุทธิ์ ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสได้มาที่นี่อีกหรือไม่...แล้วถ้าได้กลับมาทุกอย่างที่เห็นจะเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะที่นี่กำลังรอการเปลี่ยนแปลงจากหลายฝ่าย หลายคน....
 
ปล . ผมมีโอกาสถ่ายรูปเฟินจากธรรมชาติที่ได้เห็นจากสถานที่จริง
น้อยมากเนื่องจากไปในฐานะผู้ติดตามจึงไม่อยากรบกวนเวลาของคน
ในคณะ อีกอย่างนึงในขณะล่องแพโอกาสที่จะได้อยู่นิ่ง ๆ เพื่อเก็บรูป
มีน้อยมาก ......เอาไว้ถ้าไปส่วนตัวคงมีเวลาเก็บรูปมาให้ชมได้มากกว่านี้